อุทยานแห่งชาติขุนขาน ตั้งอยู่ในท้องที่ของอำเภอสะเมิงและอำเภอแม่แจ่ม

อุทยานแห่งชาติขุนขาน ตั้งอยู่ในท้องที่ของอำเภอสะเมิงและอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ อุทยานแห่งชาติขุนขาน ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่โดยประมาณ 248,125 ไร่ หรือ 397 ตารางกิโลเมตร อยู่ในลุ่มน้ำแม่ขาน และลุ่มน้ำแม่แจ่มมีลักษณะส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ประมาณ 80% ของพื้นที่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ต่ำสุด 500 เมตร และสูงสุด 1,708 เมตร สภาพของพื้นที่มีความลาดชันมากกว่า 35% เป็นส่วนใหญ่ แม่น้ำสายสำคัญที่เป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค ได้แก่ น้ำแม่สะเมิง น้ำแม่สาบ น้ำแม่ขาน น้ำอมลอง น้ำแม่โต๋ น้ำแม่บ่อแก้ว น้ำแม่อมแตง น้ำแม่ตาละ น้ำแม่สะงะ และน้ำแม่แจ่ม

สัตว์ป่าที่เห็นได้โดยมาก ได้แก่ เก้ง หมูป่า ไก่ป่า ลิง เม่น หมาไน กระต่ายป่า กระรอก อีเห็น และตะกวด ส่วนสัตว์ป่าที่เป็นจุดเด่น ได้แก่ นกนานาชนิด เสือโคร่ง และเลียงผา

อุทยานแห่งชาติขุนขาน มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ และมีจุดเด่นทางธรรมชาติหลายแห่ง ได้แก่ น้ำตกแม่นาเปอะ น้ำตกห้วยตาด น้ำตกห้วยฮ้อม น้ำตกอมลอง น้ำตกห้วยอมแตง หน้าผามาต๊ะ ถ้ำหลวงแม่สาบ บ่อน้ำร้อนท่าโต๋ ดอยซาง ดอยขุนแม่เอ๊าะ นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาท่องเที่ยวที่อุทยานขุนขานได้ตลอดทั้งปี

จังหวัดพิษณุโลกมีประวัติศาสตร์อันยาวนานควบคู่กับประเทศไทย

จังหวัดพิษณุโลก เป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย แบ่งโดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติและราชบัณฑิตยสภา หรือภาคเหนือตอนล่าง แบ่งเขตตามการพยากรณ์อากาศและเศรษฐกิจ สังคม ติดต่อกับจังหวัดอุตรดิตถ์ทางทิศเหนือ จังหวัดสุโขทัยทางทิศตะวันตก จังหวัดเลยและจังหวัดเพชรบูรณ์ทางทิศตะวันออก และจังหวัดพิจิตรและจังหวัดกำแพงเพชรทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศลาวทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีเทศบาลนครพิษณุโลกเป็นเมืองศูนย์กลางของจังหวัดและเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด

จังหวัดพิษณุโลกมีประวัติศาสตร์อันยาวนานควบคู่กับประเทศไทย โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันในศิลาจารึก ตำนาน นิทาน และพงศาวดาร เช่น สองแคว, สองแควทวิสาขะ และไทยวนที เดิมเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองเก่าสมัยขอม อยู่ห่างจากที่ตั้งเมืองปัจจุบันลงไปทางทิศใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร เรียกว่า “เมืองสองแคว” ที่เรียกเช่นนี้ เพราะตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำน่าน กับแม่น้ำแควน้อย แต่ปัจจุบันแม่น้ำแควน้อยเปลี่ยนทางเดินออกห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 10 กิโลเมตร ที่ตั้งตัวเมืองเก่าในปัจจุบันคือ บริเวณวัดจุฬามณี ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของพิษณุโลก แต่เมื่อประมาณพุทธศักราช 1900 พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ได้โปรด ให้ย้ายเมืองสองแคว มาตั้งอยู่ ณ บริเวณตัวเมืองในปัจจุบัน และยังคงเรียกกันติดปากว่า เมืองสองแคว เรื่อยมา

เมืองสองแควอยู่ในอำนาจของราชวงศ์ผาเมือง จนกระทั่งในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราชจึงได้ยึดเมืองสองแคว ครั้นสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ได้เสด็จมาประทับที่เมืองสองแคว พระองค์ได้เอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงนำความเจริญเป็นอย่างยิ่ง เช่น การสร้างเหมืองฝาย สนับสนุนให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูก สร้างทางคมนาคมจากเมืองพิษณุโลกไปเมืองสุโขทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา เพื่อประดิษฐานไว้ใน พระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดใหญ่