อุทยานแห่งชาติเขานัน

อุทยานแห่งชาติเขานัน มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่กิ่งอำเภอนบพิตำ อำเภอท่าศาลา และอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงทอดยาวตามแนวเหนือ-ใต้ สลับซับซ้อน โดยเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขานครศรีธรรมราช สภาพป่าเป็นป่าดงดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราช และประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ และมีค่า มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกสุนันทา (น้ำตกเขานัน) น้ำตกกรุงนาง น้ำตกคลองเผียน ถ้ำกรุงนาง น้ำตกเขาใด เป็นต้น มีเนื้อที่ประมาณ 272,500 ไร่ หรือ 436 ตารางกิโลเมตร

ในการสำรวจเบื้องต้นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่ากรุงชิง ป่าเขานัน และป่าคลองเผียน ซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอท่าศาลา และอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งพื้นที่ที่ทำการสำรวจนี้เป็นพื้นที่ติดต่อผืนเดียวกัน กับอุทยานแห่งชาติเขาหลวง และอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขานครศรีธรรมราช อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่ากรุงชิง ป่าเขานัน และป่าคลองเผียน ท้องที่อำเภอท่าศาลา อำเภอสิชล กิ่งอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีเนื้อที่ประมาณ 388,232 ไร่ หรือ 601 ตารางกิโลเมตร ตามคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1627/2532 ให้ นายลือสัก สักพันธ์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 กองอุทยานแห่งชาติ ไปดำเนินการสำรวจรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ จากการสำรวจในพื้นที่บริเวณดังกล่าว ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางพบมีการบุกรุกแผ้วถางป่า และทำไม้อยู่เป็นบางส่วนแต่ในอุทยานแห่งชาติเขานัน มีกำลังเจ้าหน้าที่ และงบประมาณไม่เพียงพอ ต่อการที่จะออกตรวจป้องกันและปราบปราม ซึ่งในการดำเนินการสำรวจในครั้งนี้ไม่แล้วเสร็จเนื่องจากไม่ได้กำหนดบริเวณพื้นที่ และไม่ได้จัดทำแผนที่แสดงแนวเขตที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ

กิล่ามอนสเตอร์ เป็นกิ้งก่ามีพิษชนิดหนึ่ง

กิล่ามอนสเตอร์ เป็นกิ้งก่ามีพิษชนิดหนึ่ง พบในเขตทะเลทรายอริโซน่าทางตอนตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา กิล่ามอนสเตอร์มีความยาวถึงสองฟุต จัดเป็นกิ้งก่าขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศสหรัฐอเมริกา ลำตัวมีลายดำ ชมพู ส้ม และเหลือง อุปนิสัยเชื่องช้า มักหลบในโพรงเป็นส่วนใหญ่ ล่าสัตว์จำพวกหนู นก และไข่ต่าง ๆ เป็นอาหาร กิล่ามอนสเตอร์สามารถผลิตพิษที่มีผลต่อระบบประสาทของเหยื่อ โดยพิษจะส่งเข้าสู่เหยื่อผ่านทางฟันทางกรามล่าง แต่พิษนี้ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตต่อมนุษย์

กิล่ามอนสเตอร์เป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีการคุ้มครองโดยกฎหมาย ทั้งในท้องถิ่นคือกฎหมายรัฐอริโซน่า และในระดับประเทศคือกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเม็กซิโก ส่วนในระดับนานาชาติกิล่ามอนสเตอร์เป็นสัตว์ในบัญชีหมายเลข ๒ ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ โดยห้ามส่งออกหรือนำเข้าโดยปราศจากใบอนุญาต ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง

อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในจังหวัดระยองและจังหวัดจันทบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 52,300 ไร่ หรือ 83.68 ตารางกิโลเมตร

ที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2518 ซึ่งมีมติให้กำหนดบริเวณขาชะเมา-เขาวงเป็นอุทยานแห่งชาติ เนื่องจากมีสภาพเป็นป่าที่สมบูรณ์ เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารของจังหวัดระยอง และมีสัตว์ป่าชุกชุม โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาชะเมาในท้องที่ตำบลทุ่งควายกิน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และตำบลแก่งหางแมว อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี และป่าเขาวงในท้องที่ตำบลกองดิน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และตำบลนายายอาม อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 267 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2518 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 13 ของประเทศไทย

อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวงมีลักษณะภูมิประเทศบริเวณเขาชะเมาเป็นเทือกเขาสูงชัน เป็นสันเขามีความลาดเทปานกลาง และพื้นที่ไหล่เขาค่อนข้างชัน จุดสูงสุดสูงจากระดับน้ำทะเล 1,024 เมตร และจุดต่ำสุดสูงจากระดับน้ำทะเล 51 เมตร ลักษณะภูมิประเทศบริเวณเขาวงเป็นลักษณะเขาลูกโดดหรือมียอดเขาหลายยอด เกิดจากการละลายตัวของหินปูน มีลักษณะแอ่งหินปูน หลุมยุบ และถ้ำ จุดสูงสุดสูงจากระดับน้ำทะเล 162 เมตร และจุดต่ำสุดสูงจากระดับน้ำทะเล 96 เมตร

พืชพรรณเป็นสังคมของป่าดิบชื้นมีพื้นที่ร้อยละ 80 สังคมป่าดิบเขามีพื้นที่ร้อยละ 10 สังคมป่าดิบแล้งมีพื้นที่ร้อยละ 8 และสังคมป่าเขาหินปูน มีพื้นที่ร้อยละ 2

อุทยานแห่งชาติสาละวิน

อุทยานแห่งชาติสาละวิน เป็นอุทยานแห่งชาติ มีสภาพป่าไม้สมบูรณ์ ทิวทัศน์และลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงาม ซึ่งแต่เดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติ “ป่าสาละวิน” ตั้งอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในเขตอำเภอสบเมย และ อำเภอแม่สะเรียง มีพื้นทีทั้งหมด 450,950 ไร่ (721.25 ตารางกิโลเมตร) มีพื้นที่ติดชายแดนระหว่างประเทศไทย และ ประเทศพม่า หลังจากรัฐบาลได้ยกเลิกสัมปทานป่าไม้แล้ว

อุทยานแห่งชาติสาละวิน มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัย กับที่ราบริมฝั่งน้ำ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล สูงสุด 1,027 เมตร ต่ำสุด 200 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุด อยู่ทางทิศเหนือ บริเวณอุทยาน ปกคลุมไปด้วยสภาพป่าที่อุดมของป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และยังเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำยวม แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำกองคา แม่น้ำแม่แงะ และแม่น้ำหาร มีแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคตามธรรมชาติ ได้แก่ แม่น้ำสาละวิน น้ำแม่ก๋อน น้ำแม่กองคา น้ำแม่แง น้ำแม่ปอ น้ำแม่เวน น้ำแม่สามแลบ แม่น้ำยวม ห้วยกองก๊าด ห้วยแม่สะเกิบ ห้วยแม่ละมอง ห้วยแม่สะลาบ ห้วยวอก ห้วยบง ห้วยอีนวล ห้วยโผ ห้วยแม่แต๊ะ ห้วยแม่อมลอง และ ห้วยแม่สามบาก

สภาพป่าในอุทยานแห่งชาติสาละวิน เป็นป่าที่มีความสมบูรณ์เป็นอย่างมาก ทำให้มีทั้ง ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ ซึ่งพันธุ์ไม้ส่วนใหญ่ที่พบในอุทยานแห่งชาติสสาละวิน เช่น ไม้ประดู่ ตะเคียนหมู สักแดง ตะเคียนทอง ชิงชัน มะค่าโมง เต็ง รัง พลวง เป็นต้น อุทยานแห่งชาติสาละวิน มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย เช่น หาดแท่นแก้ว, หมู่บ้านท่าตาฝั่ง, แม่น้ำกองคา, บ้านโพซอ-เสาหิน, วนอุทยานแห่งชาติถ้ำแก้วโกมล, ทุ่งดอกบัวตองดอยแม่เหาะ, วัดกิตติวงศ์, วัดจองสูง, วัดจอมทอง, บ้านกะเหรี่ยงพะมอลอ, พระธาตุจอมมอญ และ ถ้ำเงา เป็นต้น

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นวันสำคัญของไทย

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นวันสำคัญของไทยและมีความสำคัญต่อวงการวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ไทย กำหนดให้ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ. 2411 ปัจจุบันมีการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ขึ้นเป็นประจำทุกปี

รัฐบาลไทยกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติเนื่องจากวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” ได้เสด็จพระราชดำเนินชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงที่หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตรงเกาะจานขึ้นไปถึงปราณบุรี และลงไปถึง จ.ชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ มีคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์

ผลการคำนวณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแม่นยำมาก เซอร์แฮรี ออด บันทึกเหตุการณ์ไว้ซึ่งต่อมาหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้แปลเป็นภาษาไทยในงานหว้ากอรำลึก ณ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2518 ว่า “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระสำราญมาก เพราะการคำนวณเวลาสุริยุปราคาของพระองค์ ได้พิสูจน์แล้วว่าถูกถ้วนที่สุด ถูกถ้วนยิ่งกว่าที่ชาวยุโรปได้คำนวณไว้”

สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ‘วิทยาศาสตร์’โดยเฉพาะทางด้านดาราศาสตร์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคมเป็นวันวิทยาศาสตร์ไทย ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2511 หลายหน่วยงาน เช่น สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ กรมอุทกศาสตร์ กรมชลประทาน กรมแผนที่ทหาร กรมอุตุนิยมวิทยา กรมไปรษณีย์โทรเลข ฯลฯ ได้ร่วมกันจัดงานขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ÄǎώΎΌύ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงสนพระทัยวิชาคณิตศาสตร์และวิชาดาราศาสตร์ในตำราโหราศาสตร์ของไทย ในที่สุดพระองค์ทรงได้ค้นคิดวิธีการคำนวณปักข์ (ครึ่งเดือนทางจันทรคติ) เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวันธรรมสวนะ (วันพระ) ให้ถูกต้องตามการโคจรของดวงจันทร์ที่เรียกว่า “ปฏิทินปักขคณนา” (ปักขคณนา คือ วิธีนับปักข์หรือรอบครึ่งเดือนของข้างขึ้นข้างแรม เป็นวิธีนับที่แม่นยำสูง) และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ทำปฏิทินจันทรคติพระทุกปี แทนปฏิทินฆราวาส ขณะเดียวกันพระองค์ได้ทรงค้นคิดสูตรสำเร็จในการคำนวณปักข์ออกมาในรูปกระดาน ไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อจะได้วันพระที่ถูกต้องโดยไม่ต้องเสียเวลาคำนวณ และมีชื่อเรียกว่า “กระดานปักขคณนา” ซึ่งสิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นสาเหตุที่จุดประกายให้พระองค์ทรงเริ่มสนพระทัยในวิชาดาราศาสตร์อย่างจริงจัง